KU Logoกองการเจ้าหน้าที่ 1กองการเจ้าหน้าที่ 2









มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง สาย ค

พนักงานอาชีวบำบัด  ระดับ 2พนักงานอาชีวบำบัด   ระดับ 3พนักงานอาชีวบำบัด  ระดับ 4พนักงานอาชีวบำบัด   ระดับ 5พนักงานอาชีวบำบัด   ระดับ 6  
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนก ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพของงานสูงมาก หรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบ และคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน รับผิดชอบงานอาชีวบำบัดผู้ป่วย โดยควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ หรือปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวน พอสมควร หรือปฏิบัติงานอาชีวบำบัดผู้ป่วยที่ยากมาก โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับตรวจสอบ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ยากมาก หรือมีความรับผิดชอบสูงมาก เกี่ยวกับงานอาชีวบำบัด ผู้ป่วย โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น สอนหรือฝึกหัดวิธีการต่าง ๆ หรือใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อฝึกหัดกิจกรรมจากอาชีพต่าง ๆ ที่เหมาะกับอาการหรือความถนัดของผู้ป่วยให้แก่ผู้ป่วยโรคจิต โรคประสาท ยาเสพติด บุคคลปัญญาอ่อน และผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแปรปรวน หรือพิการตามที่ผู้ป่วยแต่ละคนถนัด เป็นต้น ตลอดจน ควบคุมและดูแลพฤติกรรมผู้ป่วย โดยบันทึกความเห็นในสมุดรายงาน เพื่อประกอบการวินิจฉัยของแพทย์ ในการบำบัดรักษาผู้ป่วย รวมทั้งทำหน้าที่ผลิต ซ่อมแซมครุภัณฑ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ในโรงพยาบาล ร่วมประชุมกับแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ และเจ้าหน้าที่ทางวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความเห็นในเรื่องของการบำบัดรักษา ฟื้นฟูและค้นคว้าหาวิธีบำบัดที่ได้ผลดียิ่งขึ้น เป็นต้น ฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรอง ลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผล และแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่ รับผิดชอบด้วย
ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติงาน ตามที่ได้รับมอบหมาย

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. ได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 4 หรือที่ ก.ม.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานอาชีวบำบัดผู้ป่วย หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อย กว่า 1 ปี หรือ
2. ได้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 3 หรือที่ ก.ม.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานอาชีวบำบัดผู้ป่วย หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 1 ปี

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับพนักงานอาชีวบำบัด 4 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ


หมายเหตุ: ก.ม.กำหนดวันที่ 1 เมษายน 2521