KU Logoกองการเจ้าหน้าที่ 1กองการเจ้าหน้าที่ 2









มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง สาย ข

นักอาชีวบำบัด ระดับ 3นักอาชีวบำบัด ระดับ 4นักอาชีวบำบัด ระดับ 5นักอาชีวบำบัด  ระดับ 6  
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิชาการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคจิต โรค ประสาท ยาเสพติด บุคคลปัญญาอ่อน และผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแปรปรวนหรือพิการที่มี หน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูง โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับตรวจสอบ หรือ ภายใต้การกำกับตรวจสอบบ้าง หรือปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนก ซึ่งมี หน้าที่ความรับผิดชอบสูง หรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน รับผิดชอบงานบำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคจิต โรคประสาท ยาเสพติด บุคคลปัญญาอ่อน และผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแปรปรวนหรือพิการ โดยควบคุมตรวจสอบ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ หรือปกครองผู้อยู่ ใต้บังคับบัญชาจำนวนหนึ่ง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ยากพอสมควร เกี่ยวกับงานวิชาการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยโรคจิต โรคประสาท ยาเสพติด บุคคลปัญญาอ่อน และผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแปรปรวน หรือพิการ โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น นิเทศงานอาชีวบำบัด และฝึกอบรมวิชาอาชีวบำบัด เพื่อพัฒนาข้าราชการผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวบำบัดในหน่วยงาน จิตเวช และหน่วยงานอื่น เป็นต้น ตลอดจนวางแผนกำหนดหลักสูตร การฝึกอบรมวิชาอาชีว บำบัด รวมทั้งจัดทำเอกสารวิชาการ ทางด้านอาชีวบำบัดเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจถึงคุณประโยชน์ของงานอาชีวบำบัดต่อผู้ป่วยจิตเวช และผู้ป่วยที่มีบุคลิกภาพแปรปรวนหรือพิการ และเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นต้น ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจ ปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยัง ทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผล และแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย
ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติงานตาม ที่ได้รับมอบหมาย

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักอาชีวบำบัด 3 และได้ดำรงตำแหน่ง ในระดับ 3 หรือที่ ก.ม.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานวิชาการอาชีวบำบัด หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. ได้รับปริญญาโทหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ทางการเกษตร คหกรรมศาสตร์ อาชีวบำบัด กิจกรรมบำบัด หรือทางอื่นที่ ก.ม.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับ ตำแหน่งนี้ได้ หรือ
3. ได้รับปริญญาเอกทางอาชีวบำบัด กิจกรรมบำบัด หรือทางอื่นที่ ก.ม.กำหนด ว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับนักอาชีวบำบัด 3 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานด้านต่าง ๆ ของส่วนราชการ ที่สังกัด
2. มีความสามารถในการจัดทำแผน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ และเสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา
4. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน


หมายเหตุ: แก้ไขเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2527