KU Logoกองการเจ้าหน้าที่ 1กองการเจ้าหน้าที่ 2









มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง สาย ข

นักจิตวิทยา  ระดับ 3นักจิตวิทยา  ระดับ 4นักจิตวิทยา  ระดับ 5นักจิตวิทยา  ระดับ 6  
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าหน่วยงานระดับแผนก ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพของงานสูง หรือในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความ รับผิดชอบและคุณภาพของงานเทียบได้ระดับเดียวกัน รับผิดชอบงานจิตวิทยา โดยควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ หรือปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำนวนหนึ่ง หรือ ปฏิบัติงานจิตวิทยาที่ค่อนข้างยากมาก โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้กำกับตรวจสอบ หรือภายใต้การ ตรวจสอบบ้าง และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติงานที่ค่อนข้างยากมากเกี่ยวกับงานจิตวิทยา โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใด อย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เช่น การตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยา การทดสอบปัญญา การทดสอบ ทางจิต การสัมภาษณ์ และสังเกตพฤติกรรม ตลอดจนการติดตามผล หรือปฏิบัติงานทาง วิชาการด้านจิตวิทยาเช่นเดียวกับตำแหน่งนักจิตวิทยาระดับ 3 แต่ปฏิบัติงานตามลำพังได้โดย ไม่ต้องอาศัยการแนะนำตรวจสอบจากนักจิตวิทยาระดับสูงขึ้นไป เว้นแต่ในกรณีซึ่งมีปัญหา ซับซ้อนเป็นพิเศษยากแก่การตัดสินใจวินิจฉัยตามลำพังได้ ศึกษาวิจัยทางเทคนิค ซึ่งได้แก่การ วิจัยเกี่ยวกับอาการโรคจิต โรคประสาท หามาตรฐานการทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อใช้กับคนไทย ให้บริการรักษาทางจิตรายบุคคลในระดับตื้น หรือการรักษาทางจิตแบบกลุ่ม ภายใต้การดูแลของ นักจิตวิทยาระดับสูงขึ้นไป ให้บริการจิตเวชชุมชน โดยปฏิบัติงานในด้านการป้องกัน คือให้ ความรู้ คำปรึกษา แก่นิสิต นักศึกษา เป็นวิทยากรในการบรรยายและสัมนา ให้คำปรึกษา แนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับ งานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง
ในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน นอกจากอาจปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นบ้างแล้ว ยังทำหน้าที่ติดต่อประสานงาน วางแผน มอบหมายงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผล และแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานในหน่วยงานที่ รับผิดชอบด้วย
ในฐานะผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยงาน ทำหน้าที่ช่วยหัวหน้าหน่วยงานปฏิบัติงานตาม ที่ได้รับมอบหมาย

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนักจิตวิทยา 3 และได้ดำรงตำแหน่งใน ระดับ 3 หรือที่ ก.ม.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงาน จิตวิทยา หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. ได้รับปริญญาโททางจิตวิทยา หรือทางอื่นที่ ก.ม.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้
3. ได้รับปริญญาเอกทางจิตวิทยา หรือทางอื่นที่ ก.ม.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติ เฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับนักจิตวิทยา 3 แล้วจะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานด้านต่าง ๆ ของส่วนราชการ ที่สังกัด
2. มีความสามารถในการจัดทำแผนงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษา แนะนำ และเสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา
4. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน