การลาศึกษาต่อภายในประเทศของข้าราชการและพนักงาน
โดย
นิธิมา ศรีเจริญเวช

ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- ระเบียบ ก.ม. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยไปศึกษาต่อภายในประเทศ
พ.ศ.2542
- ระเบียบ ก.ม. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยไปศึกษาต่อภายในประเทศ
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2544
- มติที่ประชุม อ.ก.ม. ครั้งที่ 15/2543 วันที่ 11 กันยายน
2543 ให้ดำเนินการกรณีพนักงานลาศึกษา เช่นเดียวกับ
ข้าราชการโดยอนุโลม
ผู้มีอำนาจอนุมัติ ได้แก่
อธิการบดี
ความหมายของการศึกษาต่อภายในประเทศ
"การศึกษาต่อภายในประเทศ" หมายความถึง
การเพิ่มพูนความรู้ด้วยการเรียน หรือการวิจัย ตามหลักสูตรของ
สถาบันการศึกษาภายในประเทศ โดยใช้เวลาในการปฏิบัติราชการเต็มเวลา หรือบางส่วน
เพื่อให้ได้มาซึ่งปริญญา
หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ และหมายความรวมถึงการฝึกอบรม หรือดูงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษานั้นด้วย
แนวทางในการพิจารณาให้ข้าราชการ /
พนักงาน ลาศึกษา
แนวทางในการพิจารณาอนุมัติให้ข้าราชการและพนักงานลาศึกษาต่อให้พิจารณาดังนี้
1. ความจำเป็นและความต้องการของทางราชการที่จะได้ผู้มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชานั้น
ทั้งนี้สาขาวิชา
และระดับความรู้ที่จะขออนุมัติไปศึกษานั้นจะต้องเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ต่องานในหน้าที่ ซึ่งข้าราชการ/
พนักงานผู้นั้นปฏิบัติอยู่ หรือที่ผู้บังคับบัญชา
จะได้มอบหมายให้กระทำเมื่อกลับมาปฏิบัติราชการ และ
2. อัตรากำลังที่มีอยู่ โดยให้มีผู้ปฏิบัติงานเพียงพอไม่ให้เสียหายแก่ราชการ
และไม่ต้องตั้งอัตรากำลังเพิ่ม
คุณสมบัติของผู้ลาศึกษาต่อ
ผู้ขออนุมัติลาศึกษาต่อจะต้องมีคุณสมบัติ
ดังนี้
1. มีอายุไม่เกิน 45 ปี นับถึงวันเริ่มต้นเปิดภาคการศึกษา
กรณีมีอายุเกิน 45 ปี หากมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง
อธิการบดีอาจอนุมัติให้ลาศึกษาต่อเป็นกรณีพิเศษได้
ทั้งนี้ผู้ขออนุมัติ จะต้องมีระยะเวลากลับมาปฏิบัติราชการชดใช้เป็นเวลาเท่ากับระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา
2. พ้นการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้ว หรือได้รับอนุมัติจากอธิการบดีให้ลดหย่อนระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานแล้ว
3. ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่หัวหน้าภาควิชา ผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป
รับรองว่าเป็นผู้มีความประพฤติดี
ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการ และสนับสนุนให้ศึกษาต่อ
4. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย หรือถูกฟ้องคดีอาญา
เว้นแต่กรณีถูกฟ้องคดีอาญา
ในความผิดที่ไม่อยู่ ในข่ายต้องรอการเลื่อนขั้นเงินเดือน
ตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน
เอกสารประกอบการพิจารณา
ผู้ขออนุมัติลาศึกษาต่อจะต้องยื่นเอกสารประกอบการพิจารณาขอลาศึกษาต่อ
ดังนี้
1. หนังสืออนุมัติให้สมัครสอบ
2. หนังสือตอบรับเข้าศึกษาจากสถานศึกษานั้น ๆ
3. หนังสือรับรองความประพฤติ และสนับสนุนให้ศึกษาต่อจากผู้บังคับบัญชาตั้งแต่หัวหน้าภาควิชา
ผู้อำนวยการกอง
หรือเทียบเท่าขึ้นไป
4. บันทึกแสดงเหตุผลและความจำเป็นในการไปศึกษาต่อ
5. หลักสูตร หรือแนวการศึกษา หรือแผนการศึกษาที่จะไปศึกษา
การขออนุมัติสมัครสอบเพื่อเข้าศึกษาต่อ
ข้าราชการและพนักงานที่ประสงค์จะลาศึกษาต่อภายในประเทศ
จะต้องเสนอเรื่องต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
เพื่อให้ความเห็นชอบ ในหลักการก่อนสมัครสอบเข้าศึกษาต่อ เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว
จึงจะไปสมัครสอบได้ และเมื่อ
สถานศึกษาตอบรับเข้าศึกษาแล้ว จึงจะดำเนินการในเรื่องขออนุมัติลาศึกษาต่อ
ต่อไป
ขั้นตอนการดำเนินการในการขออนุมัติลาศึกษาต่อ
ข้าราชการและพนักงานที่ประสงค์จะลาศึกษาต่อภายในประเทศ
จะต้องดำเนินการดังนี้
1. ทำบันทึกขออนุมัติลาศึกษาต่อเสนอต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้น เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
และเสนอตามลำดับ
จนถึงอธิการบดี เพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยระบุรายละเอียดที่จำเป็นในการขออนุมัติ
ได้แก่
- ชื่อ/ตำแหน่ง/สังกัด/ข้าราชการหรือพนักงาน
- ระดับ/สาขาวิชา/สถานศึกษา ที่จะไปศึกษา
- ระยะเวลา/ตั้งแต่วันที่ ถึงวันที่
- ศึกษาเต็มเวลาราชการ หรือบางส่วน
(กรณีลาบางส่วนจะต้องระบุด้วยว่า ต้องการใช้เวลาในการปฏิบัติราชการบางส่วน
จำนวนกี่ชั่วโมง/สัปดาห์)
- ทุนที่ใช้ในการศึกษา (กรณีได้รับทุน)
ทั้งนี้ต้องแนบเอกสารประกอบการพิจารณาอนุมัติลาศึกษาต่อ
ตามที่กำหนดด้วย
2. ติดต่อกองการเจ้าหน้าที่เพื่อจัดทำสัญญาอนุญาตให้ไปศึกษา และสัญญาค้ำประกัน
การจัดทำสัญญาอนุญาตให้ไปศึกษาและสัญญาค้ำประกัน
ข้าราชการและพนักงานที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อภายในประเทศ
จะต้องจัดทำสัญญาอนุญาตให้ไปศึกษา
และสัญญาค้ำประกัน ตามแบบที่กำหนด จำนวนอย่างละ 2 ฉบับ
ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นบุคคล
ดังนี้
1. บิดาหรือมารดาของผู้ที่จะไปศึกษา
โดยไม่ต้องแสดงหลักทรัพย์ในการทำสัญญาค้ำประกัน
2. กรณีไม่สามารถจัดหาผู้ค้ำประกันตามข้อ
1 ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นพี่หรือน้องร่วมบิดา หรือมารดาเดียวกันกับผู้ที่จะไป
ศึกษา
โดยไม่ต้องแสดงหลักทรัพย์ในการทำสัญญาค้ำประกัน
ผู้ได้รับอนุมัติให้ลาศึกษาต่อ
และผู้ค้ำประกัน จะต้องมาจัดทำสัญญาที่กองการเจ้าหน้าที่ (อาคารสารนิเทศ
50 ปี ชั้น 8)
โดยนำหลักฐานต่อไปนี้มาด้วย
1. สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชนของ
- ผู้ลาศึกษา และคู่สมรส (ถ้ามี)
- ผู้ค้ำประกัน และคู่สมรส (ถ้ามี)
2. หลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบทะเบียนสมรส ใบหย่า เป็นต้น
3. อากรแสตมป์ ชุดละ 10 บาท จำนวน 2 ชุด
การปฏิบัติราชการชดใช้ตามสัญญา
ข้าราชการและพนักงานที่ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ
จะต้องกลับมาปฏิบัติราชการชดใช้เป็นเวลาเท่ากับระยะเวลา
ที่ใช้ในการศึกษา
ข้าราชการผู้ใดไม่กลับมาปฏิบัติราชการตามสัญญา ต้องชดใช้เงินให้แก่ทางราชการ
ดังนี้
1. ไปศึกษาต่อภายในประเทศโดยใช้เวลาในการปฏิบัติราชการเต็มเวลา
ให้ชดใช้เงินเดือน ทุน ที่ได้รับระหว่างที่ไปศึกษา
และเงินอื่นใดที่ได้รับจากทางราชการ พร้อมเบี้ยปรับอีก
1 เท่า ของจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ดังกล่าว
2. ไปศึกษาโดยใช้เวลาในการปฏิบัติราชการบางส่วน
ให้ชดใช้เงินเดือน ทุน ที่ได้รับระหว่างที่ไปศึกษา และเงินอื่นใดที่ได้รับ
จากทางราชการ โดยคำนวณตามส่วนของระยะเวลาที่ไปศึกษา
พร้อมเบี้ยปรับอีก 1 เท่า ของจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ดังกล่าว
3. กรณีที่กลับมาปฏิบัติราชการไม่ครบกำหนดตามสัญญา ให้ลดจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้ลงตามส่วน
การปฏิบัติระหว่างลาศึกษาต่อ
1. ต้องรายงานผลการศึกษาต่อผู้บังคับบัญชาระดับหัวหน้าภาควิชา
ผู้อำนวยการกอง หรือเทียบเท่าขึ้นไป ให้ทราบโดยเร็ว
ทุกภาคการศึกษา
2. ต้องตั้งใจศึกษาให้สำเร็จโดยเร็ว
3. หากไม่สามารถไปศึกษา หรือศึกษาให้สำเร็จได้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม ให้รีบรายงานต่อผู้บังคับบัญชา
เพื่อกลับเข้าปฏิบัติราชการ
ทันที
4. ในระหว่างลาศึกษา หากทางราชการมีความประสงค์จะให้กลับมาปฏิบัติราชการก่อนครบกำหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติ
ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้ผุ้นั้นกลับเข้าปฏิบัติราชการทันที
การขยายเวลาศึกษาต่อ
ผู้ได้รับอนุมัติให้ลาศึกษาต่อ จะต้องศึกษาให้สำเร็จภายในระยะเวลาที่สถาบันการศึกษานั้น
ๆ กำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร
การศึกษา
ระยะเวลาในการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อ
โดยประมาณ
- ปริญญาโท
2 ปี
- ปริญญาเอก 3
ปี
กรณีไม่สามารถศึกษาให้สำเร็จได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
อาจขออนุมัติขยายเวลาศึกษาต่อ ได้ครั้งละ 1 ภาคการศึกษา
ทั้งนี้ให้แสดงเหตุผลความจำเป็น และแนบผลการศึกษาที่ผ่านมาเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติด้วย
และติดต่อกองการเจ้าหน้าที่
เพื่อจัดทำสัญญาลาศึกษาและสัญญาค้ำประกันในช่วงขยายเวลาศึกษาต่อด้วย
อนึ่ง การยื่นเรื่องขออนุมัติขยายเวลาศึกษาต่อ
ควร ดำเนินการล่วงหน้าก่อนครบกำหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติไม่น้อยกว่า
15 วัน
การรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ข้าราชการและพนักงานที่ได้รับอนุมัติให้ลาศึกษาต่อภายในประเทศ
จะต้องรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ในกรณีดังต่อไปนี้
1. เมื่อไม่สามารถไปศึกษา หรือศึกษาให้สำเร็จได้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม
ให้รีบรายงานต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อกลับเข้าปฏิบัติ
ราชการทันที
2.เมื่อครบกำหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติ หรือสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาแล้ว
ต้องรีบรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการ
โดยเร็ว ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 7 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
หรือวันที่ครบกำหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติ
แล้วแต่กรณี
การรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ
ให้ดำเนินการโดยทำบันทึกเสนอต่อผู้บังคับบัญชา พร้อมทั้งรายงานความ
ก้าวหน้าในการศึกษา และระบุวันที่จะขอกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ และให้ผู้บังคับบัญชารายงานตามลำดับจนถึงอธิการบดี
|