เครือข่ายความรู้ด้านการบริหารงานบุคคล

ครั้งที่ 1 (5 ก.ย. 2551)

        1. หารือเกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลลูกจ้างชั่วคราว การกำหนดรหัสประจำตัวมหาวิทยาลัยได้จ้างบริษัทเอกชนทำฐานข้อมูลลุกจ้างชั่วคราวของมหาวิทยาลัย และจำเป็นต้องมีการกำหนดระหัสประจำตัวให้แก่ลูกจ้างชั่วคราว ซึ่ง กจน. ได้กำหนดช่วงของรหัสให้แต่ละวิทยาเขตแต่ละคณะเพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำกันของรหัสประจำตัวบุคลากร
        2. การสรรหาบุคลากรเข้าบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ปัจจุบันมหาวิยาลัยได้มอบให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการเองทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุนและช่วยวิชาการในส่วนของ กจน. จะรับผิดชอบในส่วนของการดำเนินการอื่น ๆ หลังจากที่หน่วยงานได้ส่งรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกมาแล้ว และขอให้หน่วยงานระมัดระวังในเรื่องของการตั้งคณะกรรมการ การกำหนดคุณสมบัติ การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ เพื่อป้องกันปัญหาการฟ้องร้องในภายหลัง
         3. การหลักเกณฑ์ในการทดลองการปฏิบัติงานในปัจจุบันมีผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานไม่ผ่านมากขึ้น ก่อนครบกำหนดระยะเวลาการประเมินผลการปฏิบัติงานล่วงหน้า 1 เดือน กจน. จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ในกรณีที่หน่วยงานประสงค์จะขอขยายการทดลองปฏิบัติงานจะต้องแจ้งให้ กจน. ทราบล่วงหน้าก่อนหมดระยะเวลาทดลองปฏิบัติงาน 2 เดือน
         4. การลาออกของพนักงานมหาวิทยาลัยจะต้องแจ้งล่วงหน้า 1 เดือน และขอให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของหน่วยงานของบัตรประกันสุขภาพคืนด้วย

< กลับด้านบน >

ครั้งที่ 1/2552 (3 มี.ค. 2552) 

การบรรจุนักเรียนทุน
        1. นักเรียนทุนตามความต้องการ เป็นบุคคลภายนอก ได้รับทุนจากรัฐบาล สกอ. ทุนพัฒนาอาจารย์ ทุน ก.พ. ทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อนไปศึกษาจะต้องหาที่บรรจุก่อน จึงจะสามารถไปเรียนได้ และต้องทำสัญญารับทุนก่อนที่จะไปศึกษา
        2. นักเรียนทุนกลาง เป็นนักเรียนทุนที่ไม่ได้ทำความตกลงกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่หน่วยงานเจ้าของทุน เช่น ก.พ. หรือกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ส่งให้ไปเรียน ยังไม่มีข้อผูกพันกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเรียนจบหรือใกล้จบ ผู้ให้ทุนจะแจ้งมาว่ามีหน่วยงานไหนมีความประสงค์จะรับนักเรียนหรือไม่ ส่วนใหญ่นักเรียนทุนจะแจ้งมาว่าต้องการทำงานที่ภาควิชาและคณะใด มหาวิทยาลัยก็จะแจ้งไปที่คณะว่ามีความประสงค์และมีอัตราจะรองรับการบรรจุหรือไม่ซึ่งมหาวิทยาลัยมีนโยบายที่จะให้หน่วยงานหากรอบอัตรากำลังของหน่วยงานเองรองรับนักเรียนทุนก่อน ถ้าไม่มีอัตราจริง ๆ ก็ต้องทำเรื่องขออัตราจากมหาวิทยาลัย
        วิธีการ
        1. นักเรียนทุนตามความต้องการ หน่วยงานต้องติดต่อกับนักเรียนอย่างใกล้ชิด เมื่อนักเรียนจบต้องมารายงานตัวที่คณะ พร้อมเอกสารหลักฐานการจบการศึกษา เพื่อดูวันที่จบการศึกษาซึ่งจะเกี่ยวกับวันบรรจุ การชดใช้ทุน อาจจะยังไม่ได้รับปริญญาก็ได้ แต่ต้องมีหนังสือรับรองจากมหาวิทยาลัยที่ศึกษาว่าจบการศึกษาแล้วแต่ยังไม่ได้รับปริญญา กรอบอัตรารองรับนักเรียนทุนกองแผนงานจะทำการสำรวจทุกปีเพื่อเตรียมอัตราไว้รองรับ
        2. นักเรียนทุนกลางผู้ให้ทุนจะแจ้งมา มหาวิทยาลัยจะแจ้งไปตามคณะ คณะใดมีความประสงค์จะรับก็แจ้งเรื่องกลับมาที่มหาวิทยาลัย โดยกรอกรายละเอียดในเอกสารชี้แจงความจำเป็น โดยคณะต้องใช้อัตราที่ตนมีอยู่รองรับไปก่อน ซึ่งถ้าไม่มีอัตราว่างจริง ก็ต้องทำเรื่องขอมาที่มหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาจัดสรรอัตราเป็นราย ๆ ไป มหาวิทยาลัยจะแจ้งเรื่องไปยังผู้ให้ทุนว่าประสงค์จะรับนักเรียนเข้าบรรจุ เพื่อให้หน่วยงานเจ้าของทุนพิจารณา และเมื่อได้รับการแจ้งการจัดสรรนักเรียนทุนให้กับมหาวิทยาลัยแล้วจึง
ดำเนินการบรรจุนักเรียนทุน
         การบรรจุนักเรียนทุนไม่จำเป็นต้องมีการประกาศรับสมัคร แต่ต้องมีกระบวนคัดเลือกที่ถูกต้องตาม กระบวนการบรรจุอาจารย์ปกติ ต่างกันตรงที่นักเรียนทุนจะมีข้อผูกพันกับทางมหาวิทยาลัยอยู่ก่อนแล้วในการบรรจุ
        การนับเวลาทำงานคือถ้ามารายงานตัวและปฏิบัติงานเลยก็สามารถบรรจุให้เลยแต่ต้องไม่ก่อนวันที่จบการศึกษา แต่ถ้าแค่รายงานตัวแต่ยังไม่ปฏิบัติงานก็จะยังไม่นับเวลาการทำงานให้
        นักเรียนทุนกลางนั้นสามารถหาข้อมูลได้จากเวปของ ก.พ. เลย และสามารถติดต่อนักเรียนทุนได้เลย

< กลับด้านบน >

 การขอตำแหน่งทางวิชาการ
        
1. ขั้นตอนการดำเนินงานอยู่ที่กองการเจ้าหน้าที่ ทั้งหมด โดยมีคณะกรรมการที่เรียกว่า คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ มีหน้าที่กำกับดูแลเรื่องการขอตำแหน่งทั้งหมด แล้วส่งเรื่องไปที่สภา มก. เพื่ออนุมัติ
        2. เวลามีอาจารย์มาส่งเรื่อง คณะต้องตรวจสอบคุณสมบัติก่อนกองการเจ้าหน้าที่ได้ออกแบบฟอร์มไว้ให้ คณะสามารถใช้แบบฟอร์มได้เลยโดยไม่ต้องพิมพ์ขึ้นใหม่ ตำแหน่งอาจารย์ไม่ต้องใส่คำว่า “ในสาขาวิชา” คำว่า “ในสาขาวิชา” จะเร่ิมใช้ในตำแหน่ง ผศ. (“ในสาขาวิชา” เป็นการระบุสาขาที่มีความชำนาญการ)
        3. ผลงานทางวิชาการคนที่ตรวจสอบให้ดูจากคู่มือเล่มสีเหลืองที่เคยแจกไป ซึ่งในนั้นจะมีแบบฟอร์มที่แก้ไขแล้ว กพอ. 03 จะเน้นที่การวิจัย การวิจัยจะขึ้นต้นก่อนเรื่องการสอน
        4. การประเมินการสอน ต้องมีเอกสารคำสอน เอกสารประกอบการสอน มีคณะอนุกรรมการลงไปประเมินการสอนในชั้นเรียน
            4.1 วิชาที่จะทำการประเมินการสอนจะต้องเป็นวิชาในสาขาที่ยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ สามารถประเมินการสอนล่วงหน้าและเก็บผลการประเมินได้ 2 ปี
            4.2 คณะอนุกรรมการประเมินผลการสอน ประกอบด้วย หัวหน้าภาคหรือหัวหน้าสาขาวิชาเป็นประธานโดยตำแหน่ง กรรมการอีก 2 ท่าน ให้คณะกรรมการประจำคณะเป็นผู้พิจารณาจากบัญชีรายชื่อที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการทำให้คณะมีบัญชีรายชื่ออยู่ กรณีคณะใหม่คณะกรรมการไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งทางวิชาการ แต่ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ระยะเวลาที่จะขอตำแหน่งทางวิชาการ เช่น ถ้าผู้ประเมินจบปริญญาตรีต้องมีประสบการณ์สอน 9 ปี จบปริญญาโทต้องมีประสบการณ์สอน 5 ปี เป็นต้น จึงจะสามารถเป็นคณะอนุกรรมการประเมินผลการสอนได้คณะอนุกรรมการประเมินผลการสอนควรเป็นผู้ที่อยู่ในสาขาเดียวกัน นอกจากว่าไม่มีคนหรือหากแต่งตั้งไปแล้วจะเกิดปัญหาขึ้นก็สามารถใช้ผู้ประเมินในสาขาใกล้เคียงได้ คณะอนุกรรมการทั้ง 3 ท่านจะต้องลงไปประเมินการสอนทั้ง 3 ท่าน
        5. หน่วยงานควรมีการเก็บประวัติว่า อาจารย์ท่านใดเคยขอผลงานทางวิชาการบ้าง ใช้เอกสารชิ้นใดขอบ้างแล้ว เพื่อเป็นการตรวจสอบถ้าอาจารย์มีการขอตำแหน่งวิชาการในครั้งต่อไป กรณีที่อาจารย์ใช้วิทยานิพนธ์มาขอผลงาน ทางคณะต้องตรวจสอบให้ดีว่าเอามาใช้ทั้งหมดหรือว่านำมาต่อยอด ซึ่งเรื่องนี้เป็นการผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรง ถ้าเป็นการต่อยอดอาจารย์ผู้ขอต้องชี้แจงว่าต่อยอดตรงไหน และมีความใกล้เคียงกับผลงานวิทยานิพนธ์ที่ทำไว้แล้วแค่ไหน
        6. การบ่งบอกร้อยละของการมีส่วนร่วมในผลงานต้องสามารถชี้แจงให้ชัดเจนว่าเป็นผู้วิจัยหลักหรือไม่ หรือมีหน้าที่ทำอะไรบ้างร้อยละเท่าใด เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบว่าร้อยละความรับผิดชอบในงานวิจัยนั้นจะต้องสอดคล้องกันในผู้ที่ร่วมทำวิจัยด้วยกัน
        7. การเบิกเงินค่าตอนแทนผู้ทรงคุณวุฒิ ปัจจุบันจะจ่ายให้ครั้งเดียวตอนมีการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อพิจารณาผลงาน ทั้งค่าตอบแทนการอ่านผลงาน ค่าเบี้ยประชุม ค่าเดินทาง ฯลฯ
        8. ในช่วงที่ปฏิบัติงานอยู่สามารถยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการได้ แต่ถ้ามีการลาออกไปแล้วก็สามารถแต่งตั้งย้อนหลังได้ ถ้าหากช่วงที่ลาออกไปแล้วขบวนการขอตำแหน่งยังไม่แล้วเสร็จและในช่วงดังกล่าวถ้ามีการแก้ไขผลงานก็จะไม่สามารถทำการแก้ไขได้เพราะสถานภาพของผู้ขอสิ้นสุดสภาพการเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยแล้ว

< กลับด้านบน >

การรับสมัครงานเพื่อบรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ
หลักเกณฑ์และวิธีการ ให้เป็นไปตาม ประกาศคณะกรรมการบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกพนักงานเงินงบประมาณ ลงวันที่ 7 พฤษภาคม ?2546
        ขั้นตอนการรับสมัครงาน
        1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกไม่น้อยกว่า 5 ท่าน (ตามองค์ประกอบในหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกพนักงาน)
        2. คณะกรรมการทั้ง 5 ท่าน เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก ในการคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นพนักงาน การเปิดรับสมัครในแต่ละครั้งให้แต่งตั้งคณะกรรมการทุกครั้ง
        3. หน่วยงานต้องระบุคุณสมบัติให้ชัดเจน และวิธีการคัดเลือกและการตัดสินก็ต้องระบุให้ชัดเจน กำหนดวุฒิตรี โท หรือเอก ผู้ที่ได้รับคัดเลือกจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ประกาศ
        4. ให้หน่วยงานเป็นผู้ดำเนินการ เปิดรับสมัครไม่น้อยกว่า 15 วันทำการ ไม่รวมวันหยุดนักขตฤกษ์ และวันเสาร์อาทิตย์
        5. ดำเนินการสอบคัดเลือกตามที่ประกาศไว้
        6. ประกาศผลการคัดเลือกเรียบร้อยแล้วเสนอมหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติ หากมีผู้ผ่านการคัดเลือกมากกว่าอัตราที่เปิดรับ สามารถขึ้นทะเบียนไว้ได้โดยมีอายุการขึ้นทะเบียน 6 เดือน
        7. เอกสารแสดงความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องเป็นใบประกาศผ่านการอบรม/เรียนรู้ หากไม่มีก็สามารถแสดงรายวิชาที่เรียนมาเพื่อยืนยันแทนได้

< กลับด้านบน >

การปรับวุฒิเปลี่ยนตำแหน่งพนักงานเงินรายได้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การปรับวุฒิเปลี่ยนตำแหน่งพนักงานเงินรายได้ สามารถดำเนินการได้โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะ กรรมการฯ พนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ของหน่วยงาน
        ขั้นตอนการปรับวุฒิเปลี่ยนตำแหน่ง
        
1. ทำเรื่องมาที่กองการเจ้าหน้าที่
        2. กองการเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและเสนอเรื่องเข้าที่ประชุม กบม. (คณะกรรมการบริหารงานบุคคลประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
        3. ที่ประชุม กบม. อนุมัติ
การนับวันที่จะปรับวุฒิ ถ้าทำเรื่องขอปรับวุฒิภายใน 60 วัน จะนับให้ตั้งแต่วันที่จบการศึกษา ถ้าทำเรื่องขอปรับวุฒิหลัง 60 วัน จะนับตั้งแต่วันที่กองการเจ้าหน้าที่รับเรื่อง

< กลับด้านบน >

การจัดทำฐานข้อมูลบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ กพร.
        1. ขอให้หน่วยงานตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง ส่วนไหนที่มี *** ถือว่าเป็นจุดสำคัญ เช่น เลขบัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด วันเดือนปีที่บรรจุ
        2. ตำแหน่งทางการบริหารถ้าต่ำกว่าตำแหน่งคณบดีให้เลือกตำแหน่งอื่น ๆ
        3. user & password จะได้รับหน่วยงานละ 1 user ถ้ามีผู้เกี่ยวข้องมากกว่า 1 คน ก็ให้ใช้ user อันเดียวกัน
        4. ขอให้หน่วยงานตรวจสอบสถิติจำนวนบุคลากรในหน่วยงานให้ถูกต้องว่าตรงกับของกองการเจ้าหน้าที่หรือไม่ถ้าไม่ต้องจะได้ทำการตรวจสอบต่อไป
        5. กรณีที่มีการเปลี่ยนสถานะบุคลากร เช่น เปลี่ยนจากลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ ให้เปลี่ยนวันที่บรรจุของลูกจ้างชั่วคราว เป็นวันที่บรรจุเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ด้วย

< กลับด้านบน >

การเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างประจำ
        1. ว.5 เปลี่ยนให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ภายในหน่วยงาน และตามที่กระทรวงการคลังกำหนดตำแหน่งไว้แล้ว โดยดูคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งได้ที่เวปไซต์ของกรมบัญชีกลาง (หรือหนังสือ ว.160 ปี พ.ศ. 2548)
        2. พิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำขั้นสูงตาม ว. 43 ปี 2550 ในแต่ละตำแหน่ง
        3. กองแผนงานขอให้คณะกรรมการประจำคณะพิจารณาการเปลี่ยนตำแหน่งก่อนที่จะส่งมาให้กอง การเจ้าหน้าที่ และพิจารณาถึงผลงานย้อนหลัง 3 ปี จนถึงปีปัจจุบันที่จะขอเปลี่ยนตำแหน่ง

        การขอปรับระดับชั้น
        1. ระดับ 1 2 และ 3 มหาวิทยาลัยสามารถทำการปรับระดับชั้นได้เอง
        2. ระดับจาก 3 ไป 4 ต้องขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง โดยจะต้องชี้แจงหน้าที่ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น หรือความยุ่งยากของงาน เพื่อประกอบการพิจารณา
        3. จากหมวดฝีมือพิเศษระดับต้น ไปสู่หมวดฝีมือพิเศษระดับกลาง อัตราค้าจ้างขั้นสูงอยู่ที่ 22,220 บาท

< กลับด้านบน >

การฝึกอบรมในประเทศ
        แจ้งผลการประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 ซึ่ง ครม. ได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2552 ในประเด้นการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมของส่วนราชการคือ “ให้ส่วนราชการพิจารณาปรับแผนการฝึกอบรม จัดประชุม สัมมนา และดูงานในประเทศให้มากขึ้น แทนการฝึกอบรมจัดประชุมสัมมนาและดูงานในต่างประเทศ โดยเฉพาะในไตรมาส 1 และ 2 ทั้งนี้ให้ยกเว้นกรณีที่มีข้อตกลง หรือพันธกรณีกับองค์การหรือหน่วยงานในต่างประเทศ หรือได้รับอนุมัติให้ดำเนินการก่อนหน้าที่จะมีมติในครั้งนี้”
        ซึ่งเรื่องนี้มหาวิทยาลัยได้ตอบรับ เพื่อเป็นการสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศตามมติดังกล่าว มหาวิทยาลัยจึงได้ขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยให้ปฏิบัติตามมติ โดยให้เน้นการจัดฝึกอบรม จัดประชุมสัมมนา และดูงานในประเทศ ยกเว้นกรณีที่หน่วยงานมีข้อตกลงหรือพันธกรณีกับองค์การหรือหน่วยงานในต่างประเทศ หรือกรณีที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการก่อนวันที่ 20 มกราคม 2552

< กลับด้านบน >

สวัสดิการของบุคลากรแต่ละประเภท

สวัสดิการ
ข้าราชการ
พนักงานมหาวิทยาลัย
ลูกจ้างประจำ
พนักงานเงินรายได้
ลูกจ้างชั่วคราว
พนักงานราชการ
1. กองทุนสวัสดิภาพบุคลากร
/
/
/
/
/
/
2. สวัสดิการภายในส่วนราชการ
     2.1 เงินกู้เพื่อคุณภาพชีวิต
     2.2 โครงการอบรมวิชาชีพ
     2.3 โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
     2.4 โครงการตรวจสุขภาพประจำปี
     2.5 รถโดยสารสวัสดิการ
     2.6 ตลาดนัด


/
/
/
/
/
/


/
/
/
/
/
/

/
/
/
/
/
/

/
/
/
/
/
/

/
/
/
/
/
/

/
/
/
/
/
/
3. กองทุนประกันสังคม
-
/
-
/
/
/
4. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลูกจ้างประจำ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (กสจ.)
-
-
/
-
-
-
5. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (กส.มก.)
-
/
-
/
-
-
6. ประกันภัยกลุ่ม
-
/
-
-
-
-
7. ช.พ.ค. / ช.พ.ส.
/
/
/
/
/
/

< กลับด้านบน >