KU Logoกองการเจ้าหน้าที่ 1กองการเจ้าหน้าที่ 2









มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง สาย ค

วิศวกรโลหการ ระดับ 3วิศวกรโลหการ ระดับ 4วิศวกรโลหการ ระดับ 5วิศวกรโลหการ  ระดับ 6วิศวกรโลหการ  ระดับ 7วิศวกรโลหการ  ระดับ 8วิศวกรโลหการ  ระดับ 9
หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับงานวิศวกรรมโลหการที่ยาก ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์กับงานที่ปฏิบัติเพื่อปรับวิธีการ และแนวทางดำเนินการให้เหมาะสม โดยปฏิบัติงานภายใต้การกำกับ แนะนำตรวจสอบเฉพาะกรณีจำเป็น หรืออาจได้รับมอบอำนาจงาน บางส่วนให้รับผิดชอบ โดยให้มีการรายงานผลเป็นระยะ ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ
ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เกี่ยวกับงานวิชาชีพด้านวิศวกรรม โลหการ เช่น ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย พัฒนางานด้านโลหการเกี่ยวกับการถลุง การหล่อ การหลอมเพื่อการทดสอบคุณสมบัติ การปรับปรุงคุณสมบัติ การใช้ประโยชน์ การควบคุมคุณภาพ การผลิตโลหะและสารประกอบโลหะ การศึกษาและวิเคราะห์ข้อบกพร่องของชิ้นงานโลหะ วิเคราะห์องค์ประกอบของโลหะและโลหะผสมทางฟิสิกส์ เพื่อการกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์ ข้อบังคับ เกี่ยวกับความปลอดภัย การวิจัยทางโลหวิทยา การพิจารณา และตรวจสอบการประกอบ โลหกรรมพัฒนาเทคโนโลยีทางโลหวิทยา ให้บริการวิชาการ สอน หรือฝึกอบรม ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยี ในสาขาวิศวกรรมโลหการ ตอบปัญหาชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ และปฏิบัติหน้าที่อื่น ที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
1. มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งวิศวกรโลหการ 3 และได้ดำรงตำแหน่ง ในระดับ 3 หรือที่ ก.ม.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงาน วิศวกรรมโลหการหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ
2. ได้รับปริญญาโทหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ ทางวิศวกรรมศาสตร์ ด้านวิศวกรรม โลหการ วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมอุตสาหการ วิทยาศาสตร์ สาขาโลหวิทยา หรือทางอื่นที่ ก.ม.กำหนดว่าใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้ได้

ความรู้ความสามารถที่ต้องการ
นอกจากจะมีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับวิศวกรโลหการ 3 แล้ว จะต้อง
1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานด้านต่าง ๆ ของส่วนราชการที่สังกัด
2. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน


หมายเหตุ: ก.ม.กำหนดวันที่ 27 ธันวาคม 2537